วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

การเรียนรู้วันที่ 19 เดือนพฤศจิกายน


การเรียนรู้ในวันนี้อาจายร์เป็นคนอธิบายหน้าห้องแล้วให้เปิด บล็อก ของอาจายร์แล้วเรียนรู้ไปด้วนกัน เรียนเรื่อง การนับของคณิตศาสตร์ ตัวเลข การเรียงลำดับ การเปรียบเทียบ และอะไรอีกหลายอย่างซึ่งแต่ละหัวข้ออาจายร์ก็อธิบายให้เข้าใจด้วย

คิดเลขในใจ



การคิดเลขในใจเป็นสิ่งสำคัญ จำเป็นและมีประโยชน์ในการเรียนคณิตศาสตร์



การคิดเลขในใจ (Mental Math หรือ Figuring in You head) นั้นเป็นสิ่งสำคัญ จำเป็น และมีประโยชน์ในการเรียนคณิตศาสตร์ การฝึกคิดเลขในใจนั้นควรฝึกทุกระดับตั้งแต่ระดับประถมศึกษา แล้วก็จะช่วยส่งผลต่อการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา และหากนักเรียนมีทักษะการคิดเลขในใจในระดับมัธยมศึกษาแล้วก็จะช่วยส่งผลต่อการเรียนชั้นระดับอุดมศึกษาเช่นกันอย่างแน่นอน


การจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกคิดเลขในใจนั้น ควรจัดผสมผสานไปในกระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์การคิดเลขในใจเป็นการคิดเลขที่ไม่ใช้เครื่องช่วย เช่น กระดาษ ดินสอ เครื่องคิดเลข เป็นการฝึกคิดเลขในหัว Jack A. Hope, Larry leutzinger,Barbara J.Reys และ Robert E.Reys เชื่อว่า การคิดเลขในใจจะก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย ดังนี้

การคิดเลขในใจจะช่วยให้นักเรียนแก่ปัญหาต่าง ๆ ได้ดีขึ้น (Calculation in your head is a practical life skill) โจทย์ปัญหาการคิดคำนวณในชีวิตประจำวันหลายต่อหลายแบบนั้นสามารถหาคำตอบได้โดยการคิดในใจ เพราะในความเป็นจริงขณะที่เราพบปัญหา เราอาจจะต้องการทราบคำตอบเดี๋ยวนั้นเลย การคิดหาคำตอบต้องทำในหัว ไม่ใช้กระดาษ คินสอหรือเครื่องคิดเลขยกตัวอย่าง เช่น ขณะที่เรากำลังออกเดินทางจากสนามบินแห่งหนึ่ง departure board ระบุว่า Flight ที่เราจะออกเดินทางคือ 15.35 น. เรามองดูนาฬิกาว่าขณะนั้นเป็นเวลา 14.49 น. ถามว่ามีเวลาเหลือเท่าไร ? เรามีเวลาเหลือพอที่จะหาอะไรทานไหม ? ปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องคิดคำนวณในใจเลยซึ่งถ้าเราฝึกทักษะคิดเลขในใจมาประจำก็จะช่วยให้เราแก้ปัญหาดังกล่าวได้ง่ายขึ้น


การฝึกคิดเลขในใจจะช่วยให้นักเรียนเขียนแสดงวิธีทำได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น (Skill at mental math can make written computaion easier or quicker) เช่นในการหาคำตอบของ 1,000 x 945 นักเรียนบางคนอาจเขียนแสดงการหาคำตอบดังนี้




ในขณะที่นักเรียนซึ่งฝึกคิดลขในใจมาเป็นประจำสามารถหาคำตอบได้ในหัวข้อแล้ว และลดขั้นตอนการเขียนแสดงวธีทำเหลือแค่บรรทัดเดียวคือ 1,000 x 945 = 945,000 เช่นเดียวกับการหาคำตอบของโจทย์ข้อนี้


นักเรียนสามารถคิดในใจได้คำตอบ ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็วโดยบวกจำนวนสองจำนวนที่ครบสิบก่อนแล้วจึงบวกกับจำนวนที่เหลือ (10 +10+ 10+ 2 = 32) ในขณะที่นักเรียนบางคนอาจใช้วิธีบวกทีละขั้นตอน ซึ่งกว่าจะได้คำตอบก็อาจใช้เวลามากกว่า



การคิดเลขในใจจะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการประมาณ (Proficiency in mental math contributes to increased skill in estimation) ทักษะการประมาณเป็นเรื่องที่สำคัญในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในปัจจุบันเพราะการประมาณจะช่วยในการตรวจสอบคำตอบว่าน่าจะเป็นไปได้ไหม สามเหตุสมผลไหม (make any sence ) เช่น เป็นไปได้ไหมที่คำตอบของ 400x198 จะมากกว่า 80,000 (ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะว่า 400 x 200 = 80,000)


การคิดเลขในใจจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจเรื่องเหล่านี้ดีขึ้น คือ ค่าประจำหลัก การกระทำทางคณิตศาสตร์และสมบัติต่าง ๆ ของจำนวน (Mental calculator can lead to a better understanding of place value, mathematical operations, and basic number properties) ทั่งนี้เพราะหากนักเรียนสามารถหาคำตอบได้จากการคิดเลขในใจนั้นก็แสดงว่า นักเรียนต้องมีความเข้าใจในความคิดรวบยอดหลักการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับจำนวนเป็นอย่างดีแล้วเช่นกัน


ครูควรให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดคิดเลขในใจหลังจากที่นักเรียนเข้าใจในหลักการและวิธีการแล้วการฝึกคิดเลขในใจจะช่วยให้นักเรียนมีทักษะ ความชำนาญในการคิดเลขได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วนอกจากนี้ยังช่วยลับสมองให้ตื่นตัวตลอดเวลาในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ครูควรหาแบบฝึกหัดมาให้นักเรียนทำทั้งที่เป็นแบบฝึกหักสำหรับคิดเลขในใจปะปนอยู่ด้วยตลอดเวลา ในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์บางครั้งจะเสนอแบบฝึกหัดให้นักเรียนตอบด้วยวาจา นั่นก็เป็นรูปแบบหนึ่งของแบบฝึกหัดที่ต้องการให้นักเรียนฝึกคิดเลขในใจ โปรดระลึกว่าการฝึกคิดเลขในใจนั้นควรให้นักเรียนได้ฝึกเป็นประจำทึกวันอย่างสม่ำเสมอทำวันละน้อยแต่ต่อเนื่องและควรทำกับนักเรียนทุกระดับตั้งแต่ประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา หากครูผู้สอนคณิตศาสตร์ทุกคนได้ฝึกให้นักเรียนได้รู้จักคิดเลขในใจเป็นประจำก็เชื่อได้ว่านักเรียนจะมีทักษะการบวกลบคุณหารดีขึ้นคิดได้ถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็วขึ้นภาพลักษณ์ของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 อาจเป็น " เด็กไทยคิดเลขเก่งและเร็วกว่าเครื่องคิดเลข" ก็ได้



--------------------------------------------------------------------------------

ที่มา: ปานทอง กุลนาถศิริ, วารสาร สสวท. ฉบับที่ 97 หน้า 25-26


การเรียนรู้ในวันที่ 13 เดือนพฤศจิกายน



การเรียนรู้ในวันนี้อาจารย์ให้อ่านงานวิจัยวิชาคณิตศาสตร์วิจัยนี้ดีเพราะอ่านแล้วทำให้เราได้ความรู้หลายๆอย่างทางคณิต สนุกและได้ความรู้และอาจารย์ก็พยายามหาสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ให้พวกเราได้เรียนรู้ เพราะคณิตศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

การเรียนรู้ในวันที่ 12 เดือนพฤศจิกกายน



การเรียนในวันนี้สนุกดีวันนี้อาจารย์สอนคณิตศาสาตร์พื้นฐานเล่าความเป็นมา ความหมายของวิชานี้ แล้วแบ่งเป็นกลุ่มให้คิดว่าตนเองเป็นครูที่ให้ความรู้เด็กมนุษย์ต่างดาวอยู่ และสมุมติว่าเด็กต่างดาวพูดไม่ได้สื่อสารไม่รู้เรื่อง แต่เราจะมีวิธีการสอนให้เขาเรียนรู้เรื่องได้อย่างไร และทำวิธีไหน สุดท้ายแล้วอาจารย์ก็เฉลยว่าพื้นฐานของวิชาคณิตต้องเริ่นต้นจากการนับและการจำตัวเลขให้ถูกวิธี เช่น 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 เป็นต้น

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

การเรียนรู้วันที่ 6 เดือนพฤจิกายน

พอเริ่มมาถึงวันนี้ก้เริ่มยากขึ้นเรื่อยๆและอาจายร์ก็สั่งงานมากแต่เราก็จะพยามเพราะที่อาจายร์ทำแบบนี้ก็เพราะอยากให้เราได้เก่งตอนแรกเดียร์เป็นกังวนมากเดียร์กลัวทำไม่ได้แต่เมื่อได้ลองทำดูเดียร์ก็ทำได้เหมือนเพื่อนคนอื่นๆเขาเพราะเพื่อนค่อยบอกครั้งนี้เป็นงานครั้งที่ 2 ยังมีอีก 3 งานแต่อย่างไรงานทุกงานก็ได้ให้ความรู้ดี

การเรียนรู้วันที่ 5 เดือนพฤจิกายน

เป็นวันแรกที่เริ่มเรียนวิชาคณิตก็สนุกดีเพราะได้เล่นคอมฯอาจายร์ก็พยายามที่จะให้เราได้ก้าวหน้ากับเทคโนโนยีแรกๆก็ว่ายากแต่เมื่อได้ลองทก็สนุกและได้ความรู้ดี